สามารถจำแนกออกเป็นวัตถุประสงค์หลักๆ ได้ 4 ประเด็น คือ

1. ลดความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่มั่นคงในระบบไฟฟ้า เช่น ในกรณีเกิดเหตุการณ์วิกฤตขาดแคลนพลังงานและสามารถความสร้างสมดุลให้กับทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดได้

2. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า กล่าวคือ เป็นการใช้กลไกด้านราคาเพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าลดความต้องการการใช้ไฟฟ้า ลดความสูญเสียในระบบสายส่ง และช่วยแก้ไขปัญหา Network Congestion เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบไฟฟ้า

3. เพิ่มความมั่นคงและเพิ่มความคล่องตัวให้กับระบบไฟฟ้า กล่าวคือ ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ภายในเวลารวดเร็ว เพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตสร้างความมั่นคงให้กับระบบไฟฟ้า

4. ลดต้นทุนค่าไฟฟ้า กล่าวคือ การลดการใช้ไฟฟ้าในช่วง Peak ของระบบ ทดแทนการเดินโรงไฟฟ้าที่มีต้นทุนผลิตไฟฟ้าสูง โดยใช้มาตรการในดำเนินงานของ Demand Response รูปแบบต่างๆ