การดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทยระยะปานกลาง พ.ศ. 2565 – 2574 (แผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลาง) มีความเกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียในหลายภาคส่วน ทั้งหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ภาคเอกชน ตลอดจนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป โดยมีกิจกรรมหรือบทบาทหน้าที่ของ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ที่จะต้องดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลาที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน เพื่อให้การดำเนินการบรรลุเป้าหมายตามแผนการขับเคลื่อนฯ ระยะปานกลางที่กำหนดไว้

การจะขับเคลื่อนให้เกิดกลไกการตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติอย่างถาวรและยั่งยืนนั้น นอกจากการส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดอุปสงค์ในแง่ของการเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้าและการทดแทนการสร้างโรงไฟฟ้าแล้ว สิ่งที่ต้องส่งเสริมและพัฒนาควบคู่กัน คือ อุปทานที่จำเป็นต่อการตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติ กล่าวคือ การพัฒนา จัดหา และรวบรวมอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือระบบบริหารจัดการพลังงานที่มีศักยภาพในการตอบสนองด้านโหลดให้มีปริมาณที่เพียงพอ รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อและเชื่อมโยงเข้ากับระบบ สั่งการตอบสนองด้านโหลดได้ ซึ่งการพัฒนาอุปทานดังกล่าวสามารถดำเนินการผ่านกิจกรรมและธุรกิจ ที่เกี่ยวข้องกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้ เช่น

กิจกรรม / ธุรกิจ ภาคส่วนที่สามารถมีส่วนร่วม
การสื่อสารและการเชื่อมโยงข้อมูล หน่วยงานโทรคมนาคมและดิจิทัล
การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบบริหารจัดการพลังงาน
และการตอบสนองด้านโหลด
หน่วยงานวิจัย/สถาบันการศึกษา
หน่วยงานภาคเอกชน
ธุรกิจใหม่สำหรับผู้จำหน่ายอุปกรณ์ระบบบริหารจัดการพลังงาน
เครื่องปรับอากาศ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าอื่น ๆ
หน่วยงานภาคเอกชน
ธุรกิจผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator หรือ LA) หน่วยงานภาคเอกชน
การเข้าร่วมมาตรการการตอบสนองด้านโหลดเพื่อลดภาระ
ค่าไฟฟ้าและเพิ่มรายได้จากการลดการใช้ไฟฟ้า
ผู้ใช้ไฟฟ้า ประชาชน