โครงการนำร่องการตอบสนองด้านโหลด โดยศูนย์ควบคุมการตอบสนองด้านโหลด (DRCC) ได้มีการสั่งเรียกมาตรการ DR ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2566 จำนวน 6 ครั้งต่อเดือน ครั้งละ 3 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น โปรแกรมช่วงบ่าย (13.30-16.30 น.) จำนวน 3 ครั้งต่อเดือน และโปรแกรมช่วงหัวค่ำ(19.30-22.30 น.) จำนวน 3 ครั้งต่อเดือน รวมทั้งสิ้น 36 ครั้ง ทั้งนี้ ผลการดำเนินมาตรการ DR เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2566 สรุปได้ดังนี้

    (1)โปรแกรมช่วงบ่าย (13.30 – 16.30 น.)
  • มีผู้เข้าร่วมโปรแกรมช่วงบ่าย จำนวน 32 ราย ปริมาณกำลังไฟฟ้าเสนอลดรวม 8,385.43 กิโลวัตต์
  • ภาพรวมของการดำเนินมาตรการ DR สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุด 1,980 – 4,777 กิโลวัตต์ โดยมีค่าสูงสุด 4,777 กิโลวัตต์ ณ เดือนพฤษภาคม 2566
  • โดยมีความสามารถในการลดการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยภาพรวมร้อยละ 41 ทั้งนี้ ความสามารถในการลดการใช้ไฟฟ้าของผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ของผู้รวบรวมโหลด กฟน. และ กฟภ. มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 52 และร้อยละ 40 ตามลำดับ
    1. (2)โปรแกรมช่วงหัวค่ำ (19.30 – 22.30 น.)
  • มีผู้เข้าร่วมโปรแกรมช่วงบ่าย จำนวน 35 ราย ปริมาณกำลังไฟฟ้าเสนอลดรวม 30,178.52 กิโลวัตต์
  • ภาพรวมของการดำเนินมาตรการ DR สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้สูงสุด 32,380 – 57,308 กิโลวัตต์ โดยมีค่าสูงสุด 57,308 กิโลวัตต์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2566
  • โดยมีความสามารถในการลดการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยภาพรวมร้อยละ 128 ซึ่งสามารถปรับลดการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยได้สูงกว่าปริมาณกำลังไฟฟ้าเสนอลดตามสัญญา ทั้งนี้ ความสามารถในการลดการใช้ไฟฟ้าของผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ของผู้รวบรวมโหลด กฟน. และ กฟภ. มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 54 และ ร้อยละ 132 ตามลำดับ
  • ทั้งนี้ จากการดำเนินมาตรการ DR สามารถลดปริมาณพลังงานไฟฟ้าได้รวม 2.08 ล้านหน่วย แบ่งเป็นโปรแกรมช่วงบ่าย 0.13 ล้านหน่วย (ร้อยละ 6) และโปรแกรมช่วงหัวค่ำ 1.95 ล้านหน่วย (ร้อยละ 94) เทียบเท่าการลดการใช้เชื้อเพลิง LNG รวม 14,117 MMBTU หรือคิดเป็นค่าเชื้อเพลิง LNG ที่สามารถลดได้ 9.71 ล้านบาท