ABOUT
Demand Response
การตอบสนองด้านโหลด (Demand Response)
โดยสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าโดยภาคอุปสงค์ (Demand Resource) ไปจากรูปแบบการใช้ไฟฟ้าปกติ เพื่อตอบสนองต่อค่าไฟฟ้า (Electricity Price) ที่เปลี่ยนแปลงไปตามต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า (Marginal Cost) ขณะนั้น หรือเพื่อตอบสนองต่อเงินสนับสนุนพิเศษ (Incentive Payment) ที่ถูกกำหนดไว้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ชักจูงให้เกิดการลดใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่ต้นทุนของระบบมีค่าสูง หรือในช่วงที่มีความเสี่ยงด้านความมั่นคงของ ระบบไฟฟ้า Demand Response เป็นมาตรการสำหรับฝั่งผู้ใช้ไฟฟ้าที่ครอบคลุมตั้งแต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ไฟฟ้า เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง (Lighting System) ระบบทำความเย็นและระบายอากาศ (Chiller and Ventilation) ไปจนถึงการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองของผู้ใช้ไฟ อย่างไรก็ดี มาตรการ Demand Response นั้นเป็นมาตรการสำหรับบางช่วงเวลา ซึ่งจะแตกต่างจากมาตรการประหยัดพลังงาน (Energy Efficiency) ที่ให้ ความสำคัญกับการลดการใช้ไฟฟ้าทุกช่วงเวลา
มาตรการอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟได้
อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interrruptible Rate: IR)
ได้รับมติจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ.2538 และเริ่มประกาศใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2539 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน
โครงการ Peak Cut
โครงการ Peak Cut เป็นโครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ.) เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้ประโยชน์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่มีอยู่ของตนเอง โดยเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากระบบของกฝผ. ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากระบบในช่วงความต้องการสูงสุดให้ได้ 300 เมกะวัตต์ โดยโครงการ Peak Cut เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 – 2558 (PDP 2004) ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี และมี กฝผ. เป็นผู้ดำเนินโครงการรวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายผลตอบแทน
โครงการ Peak Cut
โครงการ Peak Cut เป็นโครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ.) เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ใช้ประโยชน์จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองที่มีอยู่ของตนเอง โดยเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจากระบบของกฝผ. ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าจากระบบในช่วงความต้องการสูงสุดให้ได้ 300 เมกะวัตต์ โดยโครงการ Peak Cut เป็นส่วนหนึ่งภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2547 – 2558 (PDP 2004) ซึ่งได้รับการอนุมัติโดยคณะรัฐมนตรี และมี กฝผ. เป็นผู้ดำเนินโครงการรวมถึงเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายผลตอบแทน
โครงการรวมใจคนไทย สู้วิกฤตไฟฟ้า
กระทรวงพลังงานได้ทำการรณรงค์ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการลดการใช้ไฟฟ้า โดยได้กำหนดมาตรการติดตามและตรวจสอบการลดใช้พลังงานในภาคราชการ เพื่อให้เป็นแนวทางและตัวอย่างของการประหยัดพลังงานที่ดีต่อประชาชนทั่วไป
โครงการนำร่อง Thailand Demand Response
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ดำเนินการโครงการนำร่อง “Thailand Demand Response” ในระหว่างวันที่ 8-10 มกราคม พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซเยตากุน ซึ่งจะส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ากังหัน
โครงการนำร่อง Thailand Demand Response
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ดำเนินการโครงการนำร่อง “Thailand Demand Response” ในระหว่างวันที่ 8-10 มกราคม พ.ศ.2557 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซเยตากุน ซึ่งจะส่งผลต่อกำลังการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ากังหัน
โครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้าในสถานการณ์หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติ JDA-18A ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มอบหมายให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จัดทำแนวทางเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคใต้ โดยได้ขอความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วน ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมโรงแรม ห้างสรรพสินค้า Hypermart และสื่อต่างๆ และรับสมัครผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งติดตั้งมิเตอร์ที่สามารถบันทึกค่าทุก 15 นาทีได้เข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดค่าตอบแทนสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งสามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าระหว่างช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟสูงสุด (Peak Period) ในอัตรา 4 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง
โครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้าในสถานการณ์หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติ JDA-18A ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มอบหมายให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จัดทำแนวทางเตรียมความพร้อมด้านความมั่นคงระบบไฟฟ้าในภาคใต้ โดยได้ขอความร่วมมือไปยังทุกภาคส่วน ผ่านทางผู้ว่าราชการจังหวัด สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมโรงแรม ห้างสรรพสินค้า Hypermart และสื่อต่างๆ และรับสมัครผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางและขนาดใหญ่ ซึ่งติดตั้งมิเตอร์ที่สามารถบันทึกค่าทุก 15 นาทีได้เข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดค่าตอบแทนสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าซึ่งสามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าระหว่างช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟสูงสุด (Peak Period) ในอัตรา 4 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง
โครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response) ครั้งที่ 1/2558
ในเดือนเมษายน พ.ศ.2558 ซึ่งแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาและซอติก้าในประเทศเมียนมาร์หยุดซ่อมบำรุง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัด “โครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response) ครั้งที่ 1/2558 ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี พ.ศ.2557 มีเป้าหมายที่จะลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูงสุดลด 500 เมกะวัตต์
โครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response) ครั้งที่ 1/2558
ในเดือนเมษายน พ.ศ.2558 ซึ่งแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานาและซอติก้าในประเทศเมียนมาร์หยุดซ่อมบำรุง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) จัด “โครงการความร่วมมือลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response) ครั้งที่ 1/2558 ขึ้น ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี พ.ศ.2557 มีเป้าหมายที่จะลดการใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลาที่มีความต้องการสูงสุดลด 500 เมกะวัตต์