แผนที่นำทางในการพัฒนาการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ไฟฟ้าและระบบบริหารจัดการการใช้พลังงานของประเทศไทย มีองค์ประกอบและรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

  • ปัจจัยขับเคลื่อน
    “ความต้องการพัฒนาตลาดการตอบสนองด้านโหลด (DR) ตามแผนกำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ให้ถึงระดับ 1,000 เมกะวัตต์ ภายใน พ.ศ. 2580”
  • เป้าหมายเชิงกลยุทธ์
    เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของการดำเนินการด้านการตอบสนองแบบอัตโนมัติถูกออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
      1.ระยะสั้น คือ มีความพร้อมและสามารถเริ่มนำร่องการสั่งการการตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติ
      2.ระยะกลาง คือ มีอุปกรณ์ไฟฟ้า และ/หรือ ระบบบริหารจัดการการใช้พลังงานที่สามารถรองรับการสั่งการการตอบสนองด้านโหลดในประเทศไทย” และ “มีการดำเนินการด้านการตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติในเชิงพาณิชย์
      3.ระยะยาว คือ การขยายผลการใช้งานให้ครอบคลุมทรัพยากรการตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติทั้งหมดที่มีศักยภาพ
  • กรอบการดำเนินงาน
    ทั้งนี้ เพื่อทำให้การดำเนินงานในแต่ช่วงมีทิศทางที่ชัดเจน แผนที่นำทาง (Roadmap) จึงได้มี
    การแบ่งกรอบการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่
      1. ด้านนโยบาย ครอบคลุม การศึกษารูปแบบโปรแกรม กลไก อัตราผลตอบแทน รวมถึง
      การกำหนดมาตรการจูงใจผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้าเพื่อพัฒนาให้เกิดตลาดและอุปกรณ์รองรับการตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติในประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)
      2. ด้านกฎระเบียบ ครอบคลุม การศึกษาและการกำหนดมาตรฐานรองรับการสั่งการ
      การตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติที่จำเป็น รวมถึงกำหนดรูปแบบโปรโตคอลการสื่อสารระหว่างผู้รวบรวมโหลด (LA) และทรัพยากรที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
      3. ด้านเทคนิค ครอบคลุม การพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกันของทรัพยากรด้านการตอบสนองด้านโหลดแบบอัตโนมัติที่มีศักยภาพทุกรูปแบบ รวมถึงการพัฒนากระบวนการรับรองความสามารถในการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์และระบบที่เกี่ยวข้องภายใต้มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.)