รูปแบบการดำเนินการ Demand Response ในบริบทของประเทศไทย

การดำเนินธุรกิจการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response) ในบริบทของประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
- ระดับการซื้อขาย DR แบบค้าส่ง (Wholesale Demand Response) ผู้จัดหาไฟฟ้า (กฟผ.) ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์สั่งการการตอบสนองด้านโหลด (DRCC) จะทำการลงนามในสัญญาร่วมกับผู้รวบรวมโหลด (Load Aggregator; LA) เพื่อดำเนินการด้านการตอบสนองด้านโหลดในระดับค้าส่งระหว่างกัน
- ระดับการซื้อขาย DR แบบค้าปลีก (Retail Demand Response) ผู้รวบรวมโหลด (LA) จะต้องดำเนินการจัดหาผู้เข้าร่วมมาตรการฯ (DR Participant) ผ่าน LAMS Platform ซึ่งจะช่วยให้ผู้รวบรวมโหลดสามารถบริหารและจัดการผู้ใช้ไฟฟ้ารวมถึงการให้ผลตอบแทนผู้ที่เข้าร่วมมาตรการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และดำเนินการส่งมอบปริมาณ DR Resource ที่สามารถรวบรวมได้ให้กับศูนย์สั่งการ DRCC (กฟผ.)
โดยในระยะนำร่อง กฟผ. ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์สั่งการ DRCC จะทำการลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับผู้รวบรวมโหลดที่เป็น กฟภ. และ กฟน. เพื่อเป็นการทดสอบนำร่องการใช้งานจริงของโปรแกรม DR ระหว่าง 3 การไฟฟ้า พร้อมกันนี้ กฟน. และ กฟภ. ในฐานะ LA จะต้องดำเนินการจัดหา DR Participant และส่งมอบปริมาณ DR Resource ให้แก่ กฟผ. เพื่อเตรียมความพร้อมในการเริ่มต้น DR ต่อไป